RSS

About

วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ปฎิทิน

MY ALBUMS

แนะนำตัวค่ะ


ชื่อ : นางสาวจุฑามาศ โสรัจจ์

ชื่อเล่น : นุ่ม

วันเกิด : 4 ตุลาคม 2531

ภูมิลำเนา : จังหวัดร้อยเอ็ด

คณะการบัญชีและการจัดการ
สาขา การจัดการ GM511
รหัส 51010911449
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ประวัติช้างไทย


ประวัติโดยย่อ


ช้างไทยเป็นสัตว์ประจำชาติไทย
และเป็นที่สำคัญต่อพระพุทธศาสนา
และประเทศไทยยังเคยมี ธงชาติที่ประทับลายช้างเผือกไว้ด้วย ถ้าพูดถึงในสมัยก่อนนั้น ช้างมีความสำคัญมากในด้านการศึก ด้านการทำสงคราม ช้างทำให ้ ขุนนางได้ เลื่อนยศมา และคนไทยเราก็นิยมในช้างเผือก ซึ่งเป็นช้างของกษัตริย์ ซึ่งมีลักษณะสวยงามมาก แต่ว่าหาได้ยากมากซึ่งในการศึก ช้างจะเป็นพาหนะของแม่ทัพซึ่งจะมีการศึกบนหลังหลังช้าง เรียกว่า ยุทธหัตถีถือเป็นการสู้ที่มีเกียรติมาก












อ้างอิง


http://yupawadee.tripod.com/prachang.htm
http://elephants.startth.com/
http://www.lib.ru.ac.th/journal/elephant-thaihistory.html

ช้างไทยในประวัตศาสตร์

ช้างไทยในสงครามประวัติศาสตร์



ในสมัยโบราณมีการใช้ช้างในการทำสงคราม ซึ่งถือว่าช้างนั้นเป็นกำลังสำคัญในการสู้ศึกเพื่อเอกราชของไทยเลยก็ว่าได้ การใช้ช้างในการทำสงครามนั้นได้มีการกล่าววิธีการต่อสู้เอาไว้ว่าพระเจ้าแผ่นดินหรือแม่ทัพก็จะใช้อาวุธของ้าวต่อสู้กันบนหลังช้าง ส่วนช้างที่ใช้ต่อสู้นั้นก็จะต่อสู้กับช้างของศัตรูช้างผู้ใดที่มีกำลังมากและสามารถสู้งัดช้างของศัตรู ก็จะเป็นฝ่ายได้เปรียบเพราะจะทำให้แม่ทัพนั้นสามารถใช้ของ้าวฟันคู่ต่อสู้ได้อย่างสะดวกและได้ชัยชนะ



ซึ่งการรับชัยชนะนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของช้างและแม่ทัพด้วย ช้างศึกในสมัยโบราณนั้นมีมากมายหลายรัชสมัยโดยเริ่มจากสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อครั้งสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถในสมัยนี้พระองค์ได้รับช้างเผือกมาตัวหนึ่งซึ่งถือเป็นช้างเผือกแรกของกรุงศรีอยุธยา เลยก็ว่าได้จนพระองค์ได้รับพระราชสมัญญาอีกพระนามหนึ่งว่า พระเจ้าช้างเผือกและในสมัยพระมหาจักรพรรดิทรงใช้ช้างต่อสู้กับกองทัพของพม่าและได้เกิดตำนานพระศรีสุริโยทัยขึ้น นอกจากนี้ยังมีการรบบนหลังช้างที่สำคัญกับคนไทยมากที่สุดซึ่งถือเป็นการกู้เอกราชให้กับประเทศไทยเลยก็ว่าได้นั่นคือในสมัยสมเด็จ พระนเรศวรมหาราชซึ่งเป็นการรบระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดีโดยช้างที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงใช้ในการทำศึกครั้งนี้คือเจ้าพระยาไชยานุภาพและเมื่อได้รับชัยชนะก็ได้สมญานามว่า เจ้าพระยาปราบหงสา ส่วนช้างที่พระสมเด็จพระเอกาทศรถผู้น้องทรงช้างนามว่า เจ้าพระยาปราบไตรจักร และต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีเมื่อครั้งที่ประชาชนเกิดความแตกแยกข้าศึกเข้าโจมตี พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นกำลังรวบรวมชาติไทยให้เป็นปึกแผ่นโดยทรงใช้ช้างในการรบด้วยเช่นกัน



อ้างอิง

http://www.lib.ru.ac.th/journal/elephant-thaihistory.html
http://www.thungyai.org/thai/activities/48/kingnaresuan/king07.htm
http://images.google.co.th/imglanding?q=%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87&imgurl=http://www.carabao2524.com/member/images/Carabao2524_03477.jpg&imgrefurl=http://www.carabao2524.com/member/show.php%3Fmember_no%3D3477&usg=__1eZLcZA-Kev9nBiCljNu8c0lckA=&h=447&w=300&sz=61&hl=th&sig2=MJAlojqXW_cOXX5oPhil8A&um=1&itbs=1&tbnid=RvFQboK_zmJbQM:&tbnh=127&tbnw=85&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%258A%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2587%26um%3D1%26hl%3Dth%26sa%3DX%26tbs%3Disch:1&ei=LyaGS5iHEsyOkQXM1uWQDw&um=1&sa=X&tbs=isch:1&start=8#tbnid=uDRkZEtTnjsIOM&start=21

วันช้างไทย

วันช้างไทย (13 มีนาคม)





วันช้างไทย ริเริ่มจากคณะอนุกรรมการประสานงานการอนุรักษ์ช้างไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานประสานงาน องค์การภาครัฐและเอกชนที่ทำงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์ช้างไทยคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเล็งเห็นว่าหากมีการสถาปนาวันช้างไทยขึ้น จะช่วยให้ประชาชนคนไทย หันมาสนใจช้าง รักช้าง หวงแหนช้าง ตลอดจนให้ความสำคัญต่อการให้ความช่วยเหลืออนุรักษ์ช้างมาก




คณะอนุกรรมการฯ จึงได้พิจารณาหาวันที่เหมาะสม ซึ่งครั้งแรกได้พิจารณาเอาวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทำยุทธหัตถี มีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา แต่วันดังกล่าวถูกใช้เป็นวันกองทัพไทยไปแล้ว จึงได้พิจารณาวันอื่น และเห็นว่าวันที่ 13 มีนาคม ซึ่งเป็นวันที่คณะกรรมการคัดเลือกสัตว์ประจำชาติ มีมติให้ช้างเผือกเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทยนั้นมีความเหมาะสม จึงได้นำเสนอมติตามลำดับขั้นเข้าสู่คณะรัฐมนตรี โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อีกทางหนึ่ง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 เห็นชอบให้ วันที่ 13 มีนาคม ของทุกปี เป็น วันช้างไทย และได้ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2541

ผลจากการที่ประเทศไทยมีวันช้างไทยเกิดขึ้น นับเป็นการยกย่องให้เกียรติว่าเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญอีกครั้ง นอกเหนือจากเกียรติที่ช้างเคยได้รับในอดีต ไม่ว่าจะเป็นช้างเผือกในธงชาติ หรือช้างเผือกที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศ หรือสัตว์คู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์

อ้างอิง
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2


http://www.newswit.com/news/2005-03-14/03d7e7bebad11a3248001f00aa7c5f9d/

http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=109&post_id=30326

http://images.google.co.th/imglanding?q=%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87&imgurl=http://www.carabao2524.com/member/images/Carabao2524_03477.jpg&imgrefurl=http://www.carabao2524.com/member/show.php%3Fmember_no%3D3477&usg=__1eZLcZA-Kev9nBiCljNu8c0lckA=&h=447&w=300&sz=61&hl=th&sig2=MJAlojqXW_cOXX5oPhil8A&um=1&itbs=1&tbnid=RvFQboK_zmJbQM:&tbnh=127&tbnw=85&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%258A%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2587%26um%3D1%26hl%3Dth%26sa%3DX%26tbs%3Disch:1&ei=LyaGS5iHEsyOkQXM1uWQDw&um=1&sa=X&tbs=isch:1&start=8#tbnid=yMzXdX9PEa5wWM&start=40

ช้างเมืองสุรินทร์

ช้างเมืองสุรินทร์
เมืองสุรินทร์ ได้ชื่อว่าเป็นถิ่นเมืองช้าง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะมีคนเลี้ยงช้างอยู่ทุกแห่ง ในสุรินทร์จะมีชาวกูยเพียงไม่กี่หมู่บ้านเท่านั้นที่เป็น “กูยอะเจียง” หรือคนที่อยู่กับช้าง หมู่บ้านตากลาง หมู่บ้านตากลาง ตำบลกะโพ อำเภอท่าตูม นับเป็นหมู่บ้านชาวกูยเก่าแก่ที่เลี้ยงช้างกันมาหลายร้อยปี ตั้งแต่เมื่อครั้งที่บรรพบุรษของเขาเลือกพื้นที่ที่ลำน้ำซีมาสบกับลำน้ำมูลซึ่งเป็นป่าดงดิบริมน้ำกว้างใหญ่ มีอาหารเพียงพอศึกที่ปลดระวางจากสงคราม เพื่อนำมาส่งเป็นส่วย แทนการเกณฑ์ทหารมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แทบทุกปีในสมัยก่อน ปะชิหมอช้างใหญ่ คุมคนและช้างเป็นขบวนใหญ่ เพื่อไปคล้องช้างป่าในแผ่นดินเขมร แต่เมื่อเกิดปัญหาทางการเมืองระหว่างประเทศ การคล้องช้างก็เลิกไป แต่ก็ยังมีการเลี้ยงช้างสืบต่อกันมา เพราะมีลูกช้างสืบต่อกันมา เพราะมีลูกช้างเกิดใหม่ทุกปี การเลี้ยงช้างของชาวกูย ไม่ได้เลี้ยงไว้เพื่อการทำงานหนักหรือใช้ลากไม้แบบทางเหนือ พวกเขาเลี้ยงช้างเหมือนเพื่อน ลูกชายชาวกูยบางคนก็เติบโตมาพร้อมกับช้างจึงเป็นเรื่องราวที่แยกจากกันไม่ออก แม้จะไม่มีการออกไปจับช้างอีกแล้ว แต่ช้างบ้านหลายรุ่น ก็ตกลูกช้างมาอย่างสม่ำเสมอ เมื่อช้างโตอายุสักปีสองปีก็ต้องมีการฝึก เพื่อรับคำสั่งต่าง ๆ ทั้งการส่งควาญขึ้นหลัง เดินซ้าย ขวา หน้า หลัง สมัยก่อนการฝึกช้างก็ทำกันเองทั่วไป แต่ปัจจุบันมีสนามฝึกช้างใกล้กับอาคารศูนย์คชศึกษาซึ่งจะทำการฝึกช้างวัยรุ่น ช้างนั้นมีความจำดีสามารถทำอะไรได้หลายๆ อย่างแล้วแต่ควาญจะฝึกให้ทำอะไรแต่ก็ต้องฝึกอยู่เสมอๆ


อ้างอิง http://www.surinrelations.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=373626 http://www.kradandum.com/chang/monk/menu.html http://fukduk.tv/4/5
http://www.youtube.com/watch?v=I8Bz4TcfvYE